เมนู

พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อุปนิกเขปน-
โต สติ
ได้แก่บุคคลเห็นทรัพย์ที่ตั้งไว้และระลึกได้ถึงทรัพย์นั้น ชื่อว่าอุปนิกเขปนโต สติ ขอ
ถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อนุภูตโต สตินั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อนุภูตโต สติ
นั้น ได้แก่บุคคลระลึกรูปได้ด้วยเคยเห็นรูป จำเสียงได้ด้วยเคยฟัง จำกลิ่นได้ด้วยเคยดม ระลึกรส
ได้ด้วยเคยบริโภค ระลึกซึ่งโผฏฐัพพารมณ์ได้เหตุเคยถูกต้องด้วยกาย และระลึกถึงธรรมเป็น
การละเอียดได้ เ หตุเคยรู้ด้วยจิต อย่างนี้ชื่อว่า อนุภูตโต สติ ขอถวายพระพร สิริถ้วนอาการ
17 เท่านี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ฟังพระนาคเสนแก้ไขดังนี้ ก็มีพระทัยโสมนัสตรัสว่า
กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
สติอาการปัญหา คำรบ 1 จบเท่านี้

วัสสสตปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวถ้อยคำดังนี้ว่า บุคคลผู้ใดทำแต่งบาปอกุศล
จนอายุได้ร้อยปี เมื่อความมรณะมาถึงตัวจะใกล้ตายนั้น มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ครั้งเดียว
เท่านั้น ครั้นกระทำกาลกิริยาตาย ได้บ่ายหน้าไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลก ตกว่าคำนี้ น สทฺท-
หามิ
โยมจะเชื่อหามิได้ นี่ข้อหนึ่ง ยังอีกข้อหนึ่งเล่า พระผู้เป็นเจ้าว่า บุคคลผู้ใดกระทำปาณา-
ติบาตไว้แต่ครั้งเดียว ก็ไปสู่นรก ตกว่าคำ ๆ นี้โยมจะได้เชื่อหามิได้
พระนาคเสนจึงแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระองค์
ทรงสันนิษฐานเข้าพระทัยอย่างไร จึงถามฉะนี้ อันบุคคลกระทำการปาณาติบาตกรรมครั้งเดียว
มิได้กระทำการกุศลไว้ ครั้นกระทำกาลกิริยาตายบ่ายหน้าไปเกิดในนรก เปรียบดุจก้อนศิลาอัน
น้อยบุคคลใส่นาวา นาวาก็พาศิลาลอยอยู่เหนือหลังน้ำได้ และศิลานั้นถ้าบุคคลยกหยิบวางลง